พฤษภาทมิฬ
เหตุการณ์ครั้งนี้ เริ่มต้นจากเหตุการณ์รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 หรือ 1 ปีก่อนหน้าการประท้วง ซึ่ง รสช. ได้ยึดอํานาจจากรัฐบาล ซึ่งมีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ในขณะนั้น โดยให้เหตุผลหลักว่ามีการฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างหนักในรัฐบาล และรัฐบาลพยายามทําลายสถาบันทหาร โดยหลังจากยึดอํานาจ คณะ รสช. ได้เลือก นายอานันท์ ปันยารชุน ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี และได้มีการแต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติขึ้น รวมทั้งการแต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญขึ้น 20 คน เพื่อร่างรัฐธรรมนูญ
หลังจากร่างรัฐธรรมนูญสําเร็จ ก็ได้มีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 22 มี.ค. พ.ศ. 2535 โดยพรรคที่ได้จํานวนผู้แทนมากที่สุดคือ พรรคสามัคคีธรรม (79 คน) ได้เป็นแกนนําจัดตั้งรัฐบาล และมีการเตรียมเสนอนาย ณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรมในฐานะหัวหน้าพรรคที่มีผู้แทนมากที่สุด ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ปรากฏว่า ทางโฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา นางมาร์กาเร็ต แท็ตไวเลอร์ ได้ออกมาประกาศว่า นายณรงค์ นั้นเป็นผู้หนึ่งที่ไม่สามารถขอวีซ่าเดินทางเข้าสหรัฐฯ ได้ เนื่องจากมีความใกล้ชิดกับนักค้ายาเสพติด
ในที่สุด จึงมีการเสนอชื่อ พล.อ. สุจินดา คราประยูร ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน ซึ่งนําไปสู่ความไม่พอใจของประชาชนในวงกว้าง เนื่องจากก่อนหน้านี้ ในระหว่างที่มีการทักท้วงโต้แย้งเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นมาใหม่ว่า ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย พลเอกสุจินดา คราประยูร ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ตน และ พล.อ.อ. เกษตร โรจนนิล จะไม่รับตําแหน่งทางการเมืองใด ๆ แต่กลับกลับคําพูดและรับตําแหน่งรัฐมนตรี
เหตุการณ์นี้ เป็นที่มาของวลีที่ว่า " เสียสัตย์เพื่อชาติ " การรับตําแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.สุจินดา ดังกล่าว นําไปสู่การเคลื่อนไหวคัดค้านต่าง ๆ ของประชาชน รวมถึงการอดอาหารของ ร.ต. ฉลาด วรฉัตร และ พล.ต. จําลอง ศรีเมือง (หัวหน้าพรรคพลังธรรมในขณะนั้น) และนําไปสู่เหตุการณ์นองเลือด พฤษภาทมิฬ ในที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น